ความสัมพันธ์ระหว่างดิน พืช และจุลินทรีย์ในบริเวณไรโซสเฟียร์กับธาตุอาหารพืช สุขภาพพืช และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ผลกระทบของความสัมพันธ์ต่อเคมีในบริเวณไรโซสเฟียร์และนิเวศวิทยาจุลินทรีย์
สิ่งมีชีวิตในดินและอันตรกิริยา กระบวนการแปรสภาพของคาร์บอนและการเกิดอินทรียวัตถุในดิน การแปรสภาพของไนโตรเจน กระบวนการตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพแบบสมชีพและแบบไม่สมชีพ รวมทั้งการแปรสภาพของซัลเฟอร์และธาตุอื่นๆ ภาวะอยู่ร่วมกันแบบไมคอร์ไรซา การควบคุมจุลินทรีย์ดินสาเหตุโรคพืชโดยชีววิธี การย่อยสลายทางชีวภาพของสารปนเปื้อนดิน เทคโนโลยีการบำบัดทางชีวภาพ การใช้เทคนิคระดับโมเลกุลศึกษาระบบนิเวศดิน
หลักการและองค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และการประยุกต์ในทางปฐพีวิทยา การสร้างระบบฐานข้อมูลดิน การเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการเชื่อมโยงการวิเคราะห์ และการแปลความหมายของข้อมูลสารสนเทศทางดิน
ประเภท ความสำคัญและสถานภาพปัจจุบันของทรัพยากรธรรมชาติทางการเกษตร หลักการจัดการทรัพยากรดินและที่ดิน ทรัพยากรพืช ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรสัตว์และพืชน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรพลังงานและทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางการเกษตร มีการศึกษานอกสถานที่
สภาพแวดล้อมในเขตเมืองและชานเมือง การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของดินเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ และผลต่อการเติบโตของพืช การปนเปื้อนโลหะหนัก และสารมลพิษทางดินอื่น ๆ การจัดการดิน และปรับปรุงดินเพื่อการปลูกพืช และการทำการเกษตร การศึกษาและการอนุรักษ์ดินในเขตเมือง มีการศึกษานอกสถานที่
ทฤษฎีและหลักการปัจจุบันของการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความสัมพันธ์ระหว่างความอุดมสมบูรณ์ของดินกับสมบัติของดิน การอภิปรายประเด็นปัญหาทางด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน
หน้าที่ทางสรีรวิทยาของธาตุอาหารที่จำเป็นในพืช กลไกการดูดไอออนของเซลล์และราก การเคลื่อนย้ายของธาตุและสารอินทรีย์ของพืชชั้นสูง การวินิจฉัยการขาดธาตุอาหารและหลักการแก้ไข ธาตุอาหารกับคุณภาพผลผลิต เทคนิคการวิจัยด้านธาตุอาหารพืช
การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่เพื่อการผลิตพืชอย่างยั่งยืน การพัฒนาคำแนะนำการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ประโยชน์ข้อมูลดิน การพัฒนาเทคโนโลยีดินและปุ๋ยที่เหมาะสมในไร่นา เทคนิคในการให้คำแนะนำในการวิเคราะห์ดิน ทำแปลงทดสอบและแปลงสาธิต
ความรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับเคมีดินเชิงสิ่งแวดล้อม การประยุกต์เคมีฟิสิกส์ในดิน เคมีพื้นผิวและลักษณะประจุของระบบคอลลอยด์ดิน กระบวนการเคมีในดิน ปรากฏการณ์ดูดซับในดิน เคมีของคาร์บอเนตและฟอสเฟต จลศาสตร์ของกระบวนการเคมีในดิน หลักการใช้เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับแสงซินโครตรอนในการศึกษารูปทางเคมีของธาตุ
องค์ประกอบทางแร่ของอนุภาคขนาดต่าง ๆ ของดิน สมบัติ โครงสร้าง การผุพังและการเกิดของแร่ในดินโดยเฉพาะแร่ดินเหนียวที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการแพร่กระจายและการเกิดดิน เทคนิคการวิเคราะห์แร่ในดินโดยวิธีการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ ดีทีเอ กล้องจุลทรรศน์โพลาไรซ์ และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
ทฤษฎี และหลักการทำงานของเทคนิคการวิเคราะห์ดินขั้นสูงที่ใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ให้ผลรวดเร็ว แม่นยำและเที่ยงตรง
สมบัติทางกายภาพเคมีและชีวภาพของดินที่ใช้ปลูกข้าวในสภาพไร่และสภาพน้ำขัง ชนิด การเจริญเติบโต พัฒนาการของข้าว และระบบการปลูกข้าว การจัดจำแนกดินที่ใช้ปลูกข้าวในประเทศไทย และลักษณะของดินที่ใช้ปลูกข้าวในเอเชีย การเปลี่ยนแปลงของธาตุอาหารพืช การจัดการน้ำ ธาตุอาหารและปุ๋ยอย่างยั่งยืน ชนิดของดินที่ใช้ปลูกข้าวที่มีปัญหาและแนวทางการแก้ไข ดินที่ใช้ปลูกข้าวกับสภาพแวดล้อมบรรยากาศ การปนเปื้อนของโลหะหนักในดินที่ใช้ปลูกข้าวและแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่การผลิตข้าวอย่างยั่งยืน
หลักการ เทคนิคการใช้เครื่องมือ และวิธีวิเคราะห์ทางเคมีของสารปนเปื้อนในดิน น้ำและพืช การแปลความหมายและการประยุกต์ผลการวิเคราะห์ ในการประเมินคุณภาพทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
บทบาทและความสำคัญของอินทรียวัตถุในดิน องค์ประกอบและการย่อยสลายตัวของอินทรียวัตถุ ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณและองค์ประกอบของอินทรียวัตถุ การแจกกระจายของอินทรียวัตถุในดินและความสัมพันธ์กับพืชพรรณและกิจกรรมของมนุษย์ในสภาพภูมิอากาศแบบเขตร้อน
ลักษณะและการกำเนิดภูมิสัณฐานที่มีผลต่อการสร้างของตัวดิน กระบวนการในการพัฒนา ภูมิสัณฐาน ความสัมพันธ์ของภูมิสัณฐานกับดิน และการใช้ที่ดินทางการเกษตรในเขตภูมิอากาศที่แตกต่างกันของโลก และในประเทศไทย มีการศึกษานอกสถานที่
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดดิน ความสัมพันธ์ระหว่างสัณฐานวิทยาของดินกับกระบวนการทางดิน สภาพแวดล้อมและลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของดิน หลักในการจำแนกดิน และระบบการจำแนกดิน พัฒนาการในปัจจุบันด้านการกำเนิดและจำแนกดิน มีการศึกษานอกสถานที่
สภาพภูมิอากาศเขตร้อนที่มีผลต่อธรรมชาติและสมบัติของดิน โดยเน้นดินบริเวณเอเชียอาคเนย์ สมบัติของดิน และการจัดการเพื่อการผลิตทางการเกษตร มีการศึกษานอกสถานที่
วัฏจักรน้ำ น้ำในดิน อุทกสถิตศาสตร์ และอุทกพลศาสตร์ของน้ำในดิน กระบวนการทางอุทกวิทยาดินที่สัมพันธ์กับการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ของน้ำในดินกับการเติบโตและพัฒนาการของพืช ความจุของน้ำในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืช การดูดน้ำและธาตุอาหารจากดิน การเคลื่อนย้ายของน้ำในระบบต่อเนื่องดิน-พืช-บรรยากาศ พลังงานของน้ำในดิน การขาดน้ำ และผลกระทบต่อสัณฐานวิทยาและการเติบโตของพืช
ทฤษฎีและการจำลองกระบวนการเคลื่อนย้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในดิน ประกอบด้วย กระบวนการเคลื่อนย้ายน้ำ ความร้อน ก๊าซ และตัวละลาย
หลักการจัดการดินเพื่อการผลิตอาหารปลอดภัย คุณภาพดินและน้ำในทางการเกษตร การปนเปื้อนของโลหะหนักและสารปนเปื้อนอื่น ในดิน น้ำ ปุ๋ยและการบำบัด การปฏิบัติในการจัดการดิน น้ำ และปุ๋ยในระบบการผลิตอาหารปลอดภัย ระบบการรับรองการผลิตอาหารปลอดภัย มีการศึกษานอกสถานที่
การอนุรักษ์ดินและน้ำ เน้นกระบวนการ การทำนาย การวัด และการควบคุมการกร่อนดินโดยเฉพาะในเขตร้อน ความสัมพันธ์ระหว่างการกักเก็บคาร์บอนกับการกร่อนดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำในระบบดินที่สูง การอนุรักษ์ความชื้นในระบบการปลูกพืช และแนวทางการวิจัยขั้นสูงเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ มีการศึกษานอกสถานที่
รูปแบบของการเสื่อมโทรมของที่ดินและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง การแจกกระจายของดินเสื่อมโทรมในโลกและในประเทศไทย สาเหตุและปัญหาของดินเสื่อมโทรมที่ส่งผลกระทบต่อป่าไม้ การเขตกรรม และคุณภาพสิ่งแวดล้อม การประเมินการเสื่อมโทรมของที่ดิน ชนิดของดินเสื่อมโทรม การป้องกัน และการแก้ปัญหาการเสื่อมโทรมของที่ดินในพื้นที่เกษตรเขตร้อน
กลไกการปลดปล่อยและการดูดซับสารมลพิษในดิน เทคนิคและแนวทางการศึกษามลพิษของดิน กลไกของสารมลพิษในดินที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ
ประเภท การกระจาย และสมรรถนะของทรัพยากรดินภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ลักษณะของดินที่เป็นข้อจำกัดในการใช้ การแปลความหมายสารสนเทศทางดิน เพื่อการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ หลักการใช้ที่ดินและการวางแผนการใช้ที่ดิน การประเมินที่ดินสำหรับการใช้เฉพาะอย่าง มีการศึกษานอกสถานที่
หลักและระเบียบวิธีการวิจัยทางปฐพีวิทยา การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดหัวข้องานวิจัย วิธีรวบรวมข้อมูลเพื่อการวางแผนการวิจัย การกำหนดตัวอย่างและเทคนิควิธีการ การวิเคราะห์ แปลผล และการวิจารณ์ผลการวิจัย การจัดทำรายงานเพื่อการนำเสนอในการประชุมและการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
เรื่องเฉพาะทางปฐพีวิทยา ในระดับปริญญาโท หัวข้อเรื่องเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละภาคการศึกษา
การนำเสนอและการอภิปรายในหัวข้อที่น่าสนใจทางปฐพีวิทยาในระดับปริญญาโท
การศึกษาค้นคว้าทางปฐพีวิทยา ระดับปริญญาโท และเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน
วิจัยในระดับปริญญาโท และเรียบเรียงเขียนเป็นวิทยานิพนธ์